ข้ามไปเนื้อหา

112 (หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
112 (หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน)
โอเปอเรเตอร์ตอบรับโทรศัพท์หมายเลข 112

112 เป็นหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินร่วมที่สามารถโทรได้ฟรีจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่ และในบางประเทศเป็นหมายเลขโทรศัพท์พื้นฐานสำหรับติดต่อหน่วยบริการยามฉุกเฉิน (รถพยาบาล, ดับเพลิงและกู้ภัย, ตำรวจ)

112 เป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานระบบจีเอสเอ็ม โดยโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่รองรับระบบจีเอสเอ็มทั้งหมดสามารถกดหมายเลข 112 ได้แม้เครื่องจะล็อกอยู่ หรือไม่มีซิมการ์ดอยู่ก็ตามในบางประเทศ นอกจากนี้ 112 ยังถูกใช้เป็นหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินสามัญร่วมกันในเกือบทุกประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป และประเทศอื่น ๆ ทั้งในยุโรปและอีกหลายประเทศทั่วโลก โดย 112 มักจะใช้งานได้เช่นกันในประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ได้ใช้งาน 112 เป็นหมายเลขหลักเพื่อเข้าถึงบริการฉุกเฉินได้เช่นกัน ซึ่งในบางประเทศ การโทรหมายเลข 112 จะไม่ได้ถูกโอนสายโดยตรงไปยังบริการฉุกเฉิน แต่จะถูกเครือข่ายจีเอสเอ็มส่งต่อไปยังหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินในพื้นที่ เช่น 911 ในอเมริกาเหนือ, 999 ในสหราชอาณาจักรและฮ่องกง และ 000 ในออสเตรเลีย

จุดเริ่มต้น

[แก้]
ป้าย "แจ้งเตือนโคเคน" โดย GGD อัมสเตอร์ดัม: ป้ายเตือนผู้คนให้ "โทร 112 เพื่อเรียกรถพยาบาล"

เลขหมาย 112 ได้รับการกำหนดเป็นเลขหมายมาตรฐานครั้งแรกทั่วยุโรปสำหรับหน่วยบริการยามฉุกเฉิน หลังจากการแนะนำให้ใช้งาน[1]ในการประชุมองค์กรบริหารงานไปรษณีย์และโทรคมนาคมของสหภาพยุโรป (European Conference of Postal and Telecommunications Administrations: CEPT) ในปี พ.ศ. 2519 และมีการกำหนดไว้ใน CEPT Decision ECC/DEC/(17) 05[2]

สมาคมหมายเลขฉุกเฉินแห่งยุโรป (European Emergency Number Association: EENA)[3] ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยเป็นองค์กรตัวแทนของหน่วยบริการยามฉุกเฉินและบริการอื่น ๆ ที่รณรงค์เพื่อให้หมายเลข 112 นั้นถูกใช้ให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพในนามของพลเมืองยุโรป EENA ยังคงให้ความรู้เกี่ยวกับหมายเลข 112 อยู่ตลอดมาเนื่องจากเป็นภารกิจหลักของสมาคม

การหมายเลข 112 ถูกให้เหตุผลในเชิงตรรกะว่ามีข้อดีในการนำมาใช้งาน ดังนี้:

  • ตัวเลขที่ต่างกัน: เนื่องจากแป้นพิมพ์ตัวเลขที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนั้น การใช้ตัวเลขที่แตกต่างกันอย่างน้อย 2 หลักสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการการกดโทรอย่างไม่ตั้งใจได้ ทั้งจากการที่มีเด็กเล็กมากดเล่น การสั่น ปุ่มชำรุดเสียหาย และการไปชนกับวัตถุอื่น ๆ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมีการกดหมายเลขเดิมซ้ำๆ มากกว่าการกดปุ่มที่แตกต่างกันตามลำดับ โดยเฉพาะเมื่อใช้โทรศัพท์แบบปุ่มกด การกดโทรไปยังศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินจากโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่ได้ตั้งใจมีโอกาสสูง เนื่องจากสามารถกดหมายเลขฉุกเฉินได้แม้จะกดล็อกปุ่มกดไว้ก็ตาม ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงกับหมายเลข 999 ของสหราชอาณาจักร[4]
  • ตัวเลขน้อย: ในโทรศัพท์แบบหมุน (Rotary dial) การใช้เฉพาะตัวเลขที่ต้องการหมุนอย่างน้อยที่สุด (1 และ 2) จะทำให้เกิดการล็อก[5]การโทรออกในช่องที่ 3 และป้องกันการเข้าถึงเครือข่ายโทรศัพท์ ซึ่งการใช้หมายเลข 112 นั้นจะช่วยเพิ่มความเร็วในการโทรออก นอกจากนี้ด้วยระบบการโทรแบบพัลส์ (Pulse dialling) การกดใช้งานและเปิดการใช้งานฮุคสั้น ๆ จะให้ผลเช่นเดียวกันกับการโทรออก "1" ดังนั้นการกดฮุคซ้ำๆ อาจส่งผลให้เกิดการโทร 1-1-1 เหตุนี้เอง หมายเลขฉุกเฉินของตำรวจเยอรมนีจึงเปลี่ยนจาก 111 เป็น 110 เมื่อใช้แป้นพิมพ์ตัวเลข การกดเพียงปุ่มแรกและปุ่มที่สองบนแป้นพิมพ์ง่ายกว่าเล็กน้อยในสถาการณ์ฉุกเฉินมากกว่าปุ่มอื่น ๆ

การนำไปใช้งาน

[แก้]

หลังจากมีการใช้งานในยุโรปตะวันออก ประเทศอื่น ๆ จึงได้นำหมายเลข 112 มาใช้งานในกรณีฉุกเฉิน ประเทศที่นำหมายเลขดังกล่าวไปใช้ (รวมไปถึงการโอนสายยังหมายเลขฉุกเฉินอื่น ๆ ที่มีอยู่ก่อนแล้ว) ได้แก่

แอฟริกา

[แก้]
  •  อียิปต์ (ควบคู่ไปกับ 122 สำหรับตำรวจ, 123 สำหรับรถพยาบาล และ 180 สำหรับดับเพลิง)
  •  กานา[6]
  •  มอริเชียส (ตำรวจเท่านั้น ควบคู่ไปกับ 114 สำหรับรถพยาบาล และ 115 สำหรับดับเพลิง)
  •  ไนจีเรีย
  •  รวันดา (ตำรวจและหน่วยดับเพลิง 912 สำหรับรถพยาบาล)
  •  เซเนกัล (ควบคู่ไปกับ 17 สำหรับตำรวจ, 18 สำหรับดับเพลิง และ 15 สำหรับรถพยาบาล)
  •  แอฟริกาใต้ (ควบคู่ไปกับ 10111 สำหรับตำรวจ และ 10177 สำหรับรถพยาบาลและดับเพลิง)

เอเชีย

[แก้]
  •  อาร์มีเนีย (ดับเพลิง 101, ตำรวจนครบาล 102, รถพยาบาล 103)
  •  อาเซอร์ไบจาน (ควบคู่ไปกับ 102 สำหรับตำรวจ, 103 สำหรับรถพยาบาล ควบคู่ไปกับ 112, 911 โอนสายไปยัง 112 สำหรับผู้ให้บริการ GSM เท่านั้น)
  •  จีน (คำแนะนำที่บันทึกไว้เกี่ยวกับหมายเลข SOS ที่ถูกต้องในประเทศจีน: ตำรวจ 110, รถพยาบาล 120, ดับเพลิง 119 ไม่มีการโอนสายไปยังบริการฉุกเฉิน)[7]
  •  ติมอร์-เลสเต
  •  ฮ่องกง (เชื่อมต่อกับศูนย์บริการฉุกเฉิน 999 โดยอัตโนมัติ จากเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในพื้นที่ที่มีสัญญาณครอบคลุม)
  •  อินเดีย (ขณะนี้ 112 เป็นหมายเลขฉุกเฉินเดียวทั่วประเทศสำหรับเหตุฉุกเฉินทั้งหมด สำหรับหมายเลขฉุกเฉินที่มีอยู่เดิม เช่น 100 (ตำรวจ), 101 (ดับเพลิงและกู้ภัย) และ 108 (รถพยาบาล), 181 (ดูแลสตรีและเด็ก) ฯลฯ จะถูกรวมอยู่ในหมายเลข 112)[8]
  •  อินโดนีเซีย (ควบคู่ไปกับ 110 สำหรับตำรวจ, 118 สำหรับรถพยาบาล, 113 สำหรับดับเพลิง และควบคู่กับ 112)[9][10]
  •  อิหร่าน (ควบคู่ไปกับ 110 สำหรับตำรวจ, 115 สำหรับรถพยาบาล, 112 สำหรับรถพยาบาล Hilal Ahmar และ 125 สำหรับดับเพลิง; 911 ถูกโอนสายไปที่ 112 บนโทรศัพท์เคลื่อนที่)
  •  อิสราเอล (โอนสายไปที่ 100 – ตำรวจ – ควบคู่ไปกับ 911 และจะให้บริการศูนย์รวมที่ระบุไว้ ควบคู่กับ 100 สำหรับตำรวจ, 101 สำหรับรถพยาบาล และ 102 สำหรับดับเพลิง)
  •  จอร์แดน (ควบคู่ไปกับ 911)
  •  คาซัคสถาน (ควบคู่ไปกับ 101 สำหรับดับเพลิง, 102 สำหรับตำรวจ และ 103 สำหรับรถพยาบาล)
  •  คูเวต (ควบคู่ไปกับ 112)
  •  คีร์กีซสถาน (ควบคู่ไปกับ 101 สำหรับดับเพลิง 102 สำหรับตำรวจ และ 103 สำหรับรถพยาบาล)
  •  เลบานอน (ตำรวจเท่านั้น; ควบคู่ไปกับ 160 สำหรับตำรวจ 140 สำหรับรถพยาบาล และ 125 สำหรับดับเพลิง)
  •  มาเก๊า (ควบคู่ไปกับ 999)
  •  มาเลเซีย (โอนสายไปยัง 999 บนโทรศัพท์เคลื่อนที่)
  •  มองโกเลีย (ควบคู่ไปกับ 102 สำหรับตำรวจ 103 สำหรับรถพยาบาล และ 105 สำหรับดับเพลิง)
  •  เนปาล (ตำรวจเท่านั้น; ควบคู่ไปกับ 100 สำหรับตำรวจ 101 สำหรับดับเพลิง และ 102 สำหรับรถพยาบาล)
  •  ปาเลสไตน์ (ดับเพลิง 102, ตำรวจนครบาล 100, รถพยาบาล 101)
  •  ซาอุดีอาระเบีย (ควบคู่ไปกับ 911)
  • สิงคโปร์ Singapore (โอนสายไปยัง 999 สายของตำรวจ)
  •  เกาหลีใต้ (ตำรวจเท่านั้น; ควบคู่ไปกับ 119 สำหรับรถพยาบาลและดับเพลิง)
  •  ศรีลังกา (ตำรวจเท่านั้น; ควบคู่ไปกับ 119 สำหรับตำรวจ และ 110 สำหรับรถพยาบาลและดับเพลิง)
  •  ซีเรีย (ตำรวจเท่านั้น; ควบคู่ไปกับ 110 สำหรับรถพยาบาล และ 113 สำหรับดับเพลิง)
  •  ไต้หวัน (หลังจากเชื่อมต่อสายแล้ว กด 0 โอนไปยัง 110 (ตำรวจ) กด 9 โอนไปยัง 119 (ดับเพลิง/กู้ภัย/รถพยาบาล))
  •  ไทย (โทร 191 สำหรับตำรวจ) (โทร 1193 สำหรับตำรวจทางหลวง) (โทร 1155 สำหรับตำรวจท่องเที่ยว) (โทร 1669 สำหรับรถพยาบาล) (โทร 199 สำหรับดับเพลิงและกู้ภัย)
  •  สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ควบคู่ไปกับ 999 สำหรับตำรวจ 998 สำหรับรถพยาบาล และ 997 สำหรับดับเพลิง)
  •  อุซเบกิสถาน
  •  โอมาน (ควบคู่ไปกับ 9999 สำหรับตำรวจ (ทุกกรณีฉุกเฉิน))

ยุโรป

[แก้]
  •  แอลเบเนีย (ควบคู่ไปกับ 129 และ 126 สำหรับตำรวจ, 127 สำหรับรถพยาบาล, 128 สำหรับดับเพลิง และ 125 สำหรับการช่วยเหลือทางทะเล)
  •  อันดอร์รา (รถพยาบาลและดับเพลิง, 118 สำหรับบริการเดียวกันและ 110 สำหรับตำรวจ)
  •  ออสเตรีย (ควบคู่ไปกับ 122 สำหรับดับเพลิง, 133 สำหรับตำรวจ, 144 สำหรับกู้ภัย/รถพยาบาล, 140 สำหรับกู้ภัยบนภูเขา และ 141 สำหรับบริการแพทย์ทั่วไปในเวลากลางคืน; 059 133 เป็นหมายเลขไม่ฉุกเฉินของกรมตำรวจท้องที่)
  •  เบลารุส (ดับเพลิงเท่านั้น; ควบคู่ไปกับ 101 สำหรับดับเพลิง 102 สำหรับตำรวจ และ 103 สำหรับรถพยาบาล)
  •  เบลเยียม (เฉพาะภาษาฝรั่งเศส ดัตช์ และอังกฤษ (ในบางกรณีเป็นภาษาเยอรมัน)[11] ) (รถพยาบาลและดับเพลิง; 100 สำหรับบริการเดียวกันและ 101 สำหรับตำรวจ)
  •  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (ควบคู่ไปกับ 122 สำหรับตำรวจ 123 สำหรับดับเพลิง และ 124 สำหรับรถพยาบาล)
  •  บัลแกเรีย (เฉพาะภาษาบัลแกเรีย อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี สเปน กรีก โรมาเนีย ตุรกี หรือรัสเซีย[12]) (ควบคู่ไปกับ 150 สำหรับรถพยาบาล 160 สำหรับดับเพลิง และ 166 สำหรับตำรวจ โอนสายอัตโนมัติไปยัง 112)
  •  โครเอเชีย (ควบคู่ไปกับ 192 สำหรับตำรวจ, 193 สำหรับดับเพลิง, 194 สำหรับรถพยาบาล และ 195 สำหรับค้นหาและกู้ภัยทางทะเล)
  •  ไซปรัส (ควบคู่ไปกับ 199)
  •  เช็กเกีย (เฉพาะในภาษาเช็ก อังกฤษ เยอรมัน โปแลนด์ รัสเซีย และฝรั่งเศส (ไม่ใช่โดยตัวมันเอง แต่ใช้ซอฟต์แวร์การแปลช่วย)[13]) (ควบคู่ไปกับ 155 สำหรับรถพยาบาล, 158 สำหรับตำรวจ และ 150 สำหรับดับเพลิง)
  •  เดนมาร์ก (เป็นภาษาเดนมาร์ก อังกฤษ สวีเดน และนอร์เวย์ (ในบางกรณีเป็นภาษาเยอรมัน)[14]) (รวมไปถึง  กรีนแลนด์ ในภาษากรีนแลนด์, เดนมาร์ก และอังกฤษ,  หมู่เกาะแฟโร ในภาษาแฟโร เดนมาร์ก และอังกฤษ). ควบคู่ไปกับ 114 สำหรับตำรวจกรณีไม่ฉุกเฉิน
  •  เอสโตเนีย
  •  ฟินแลนด์ (รวมไปถึง  หมู่เกาะโอลันด์)
  •  ฝรั่งเศส (ควบคู่ไปกับ 15 สำหรับรถพยาบาล, 17 สำหรับตำรวจ และ 18 สำหรับดับเพลิง)
  •  เยอรมนี (ควบคู่ไปกับ 110 สำหรับตำรวจ)
  •  ยิบรอลตาร์ (ควบคู่ไปกับ 190 สำหรับดับเพลิง และ รถพยาบาล และ 199 สำหรับตำรวจ)
  •  จอร์เจีย
  •  กรีซ (ควบคู่ไปกับ 100 สำหรับตำรวจ 108 สำหรับหน่วยยามฝั่ง 166 สำหรับรถพยาบาล และ 199 สำหรับบริการดับเพลิง)
  •  ฮังการี (ควบคู่ไปกับ 104 สำหรับรถพยาบาล, 105 สำหรับดับเพลิง และ 107 สำหรับตำรวจจะโอนสายไปยัง 112 บนโทรศัพท์เคลื่อนที่)
  •  ไอซ์แลนด์
  •  ไอร์แลนด์ (ควบคู่ไปกับ 999)
  •  อิตาลี (ประมาณครึ่งหนึ่งของอิตาลี 112 สำหรับตำรวจภูธร, 113 สำหรับตำรวจแห่งชาติ, 115 สำหรับดับเพลิง, 118 สำหรับรถพยาบาล, 1530 หน่วยยามฝั่ง, 1515 กองป่าไม้แห่งรัฐ, 117 เจ้าหน้าที่การเงิน และ 1544 ตำรวจเรือนจำ; ขณะนี้หลายภูมิภาคใช้ 112 สำหรับเหตุฉุกเฉินทั้งหมด[15])
  •  คอซอวอ (ควบคู่ไปกับ 192 สำหรับตำรวจ, 193 สำหรับดับเพลิง และ 194 สำหรับรถพยาบาล)
  •  ลัตเวีย (ควบคู่ไปกับ 110 สำหรับตำรวจ, 113 สำหรับรถพยาบาล และ 114 สำหรับบริการฉุกเฉินด้านแก๊ส)
  •  ลีชเทินชไตน์ (ตำรวจเท่านั้น; ควบคู่ไปกับ 117 สำหรับตำรวจ, 144 สำหรับรถพยาบาล และ 118 สำหรับดับเพลิง)
  •  ลิทัวเนีย
  •  ลักเซมเบิร์ก (ควบคู่ไปกับ 113 สำหรับตำรวจ)
  •  มอลตา
  •  มอลโดวา (หมายเลขฉุกเฉินหมายเลขเดียว ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2561,[16] แทนที่ 901 สำหรับดับเพลิง, 902 สำหรับตำรวจ และ 903 สำหรับรถพยาบาล)
  •  โมนาโก (ควบคู่ไปกับ 15 สำหรับรถพยาบาล, 17 สำหรับตำรวจ และ 18 สำหรับดับเพลิง)
  •  มอนเตเนโกร (ควบคู่ไปกับ 122 สำหรับตำรวจ, 123 สำหรับดับเพลิง และ 124 สำหรับรถพยาบาล)
  •  เนเธอร์แลนด์ (0900-8844 เป็นหมายเลขไม่ฉุกเฉินของกรมตำรวจท้องที่) (ในทะเลแคริบเบียนเนเธอร์แลนด์ 112 โอนสายไปยัง 911, ในขณะที่เนเธอร์แลนด์ในยุโรป 911 โอนสายไปยัง 112)
  •  มาซิโดเนียเหนือ (ควบคู่ไปกับ 192 สำหรับตำรวจ, 193 สำหรับดับเพลิง, 194 สำหรับรถพยาบาล)
  •  นอร์เวย์ (112 สำหรับตำรวจเท่านั้น, 110 สำหรับดับเพลิง และ 113 สำหรับรถพยาบาล การโทรไปยังหมายเลขฉุกเฉินใด ๆ จะเป็นการโอนสายไปยังบริการที่เหมาะสมเมื่อจำเป็น 02800 เป็นหมายเลขไม่ฉุกเฉินของกรมตำรวจท้องที่)
  •  โปแลนด์ (มันถูกใช้ควบคู่ไปกับ 999 สำหรับรถพยาบาล, และเคยมีใช้งานควบคู่ไปกับ 998 สำหรับดับเพลิง, และ 997 สำหรับตำรวจ; มีให้เลือกทั้งสองตัวเลือก 112 ใช้สำหรับกรณีฉุกเฉินทั้งหมด)
  •  โรมาเนีย
  •  โปรตุเกส (117 แจ้งเหตุไฟป่า)
  •  รัสเซีย (ควบคู่ไปกับ 101 สำหรับดับเพลิง, 102 สำหรับตำรวจ, 103 สำหรับรถพยาบาล และ 104 สำหรับบริการฉุกเฉินด้านแก๊ส)
  •  เซอร์เบีย (ควบคู่ไปกับ 192 สำหรับตำรวจ, 193 สำหรับดับเพลิง, และ 194 สำหรับรถพยาบาล)
  •  สโลวาเกีย (ควบคู่ไปกับ 155 สำหรับรถพยาบาล, 158 สำหรับตำรวจ, 150 สำหรับดับเพลิง และ 18300 สำหรับหน่วยกู้ภัยบนภูเขา)
  •  สโลวีเนีย (ควบคู่ไปกับ 113 สำหรับตำรวจ)
  •  สเปน (ควบคู่ไปกับ 091/062/092 สำหรับตำรวจ, 061 สำหรับรถพยาบาล และ 080 และ 085 (ใช้งานร่วมในบางจังหวัด) สำหรับดับเพลิง)
  •  สวีเดน (ควบคู่ไปกับ 114 14 หมายเลขตำรวจสำหรับเรื่องที่ไม่เร่งด่วน และ 1177 สำหรับคำแนะนำทางการแพทย์)
  •  สวิตเซอร์แลนด์ (ควบคู่ไปกับ 117 สำหรับตำรวจ, 144 สำหรับรถพยาบาล และ 118 สำหรับดับเพลิง)
  •  ตุรกี 112 สำหรับกรณีฉุกเฉินทั้งหมด (หรือ 110-ดับเพลิง, 155-ตำรวจ, 156-ตำรวจภูธร และ 177 สำหรับไฟป่าเท่านั้น 911 โอนสายไปยัง 112)
  •  ยูเครน (ควบคู่ไปกับ 101 สำหรับดับเพลิง, 102 สำหรับตำรวจ, 103 สำหรับรถพยาบาล และ 104 สำหรับบริการฉุกเฉินด้านแก๊สในบางเมือง 112 และ 911 นอกจากนี้สำหรับกรณีฉุกเฉินทั้งหมด)
  •  สหราชอาณาจักร (ควบคู่ไปกับ 999)
  •  นครรัฐวาติกัน (ควบคู่ไปกับ 113 สำหรับตำรวจแห่งชาติ, 115 สำหรับดับเพลิง และ 118 สำหรับรถพยาบาล)

อเมริกาเหนือ

[แก้]

โอเชียเนีย

[แก้]

อเมริกาใต้

[แก้]
  •  อาร์เจนตินา (ควบคู่ไปกับ 911)
  •  บราซิล (ควบคู่ไปกับ 911; โอนสายไปยัง 190 – สารวัตรทหาร – ควบคู่ไปกับ 193 สำหรับดับเพลิง, 190 สำหรับสารวัตรทหาร, และ 192 สำหรับรถพยาบาล)
  •  ชิลี (ควบคู่ไปกับ 911; โอนสายไปยัง 133 - ตำรวจ)
  •  โคลอมเบีย (ตำรวจเท่านั้น; ควบคู่ไปกับ 123 สำหรับกรณีฉุกเฉินทั้งหมด, 125 สำหรับรถพยาบาล และ 119 สำหรับดับเพลิง)
  •  เอกวาดอร์ (ควบคู่ไปกับ 911)

ในหลายประเทศ หมายเลขฉุกเฉินที่ใช้งานก่อนหน้านี้ยังคงมีให้บริการอยู่ เช่น 061 และ 112 ในสเปน, 999 และ 112 สามารถใช้ได้ทั้งในไอร์แลนด์และสหราชอาณาจักร ในสหรัฐ มีเพียงผู้ให้บริการบางราย รวมถึงเอทีแอนด์ทีเท่านั้นที่จับคู่หมายเลข 112 กับหมายเลข 911 ในสหรัฐ

การรับรอง

[แก้]

หมายเลขดังกล่าวยังได้รับการรับรองโดยผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป และสมาชิกเขตเศรษฐกิจยุโรป

สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศแนะนำให้ชาติสมาชิกเลือกใช้หมายเลขฉุกเฉินหลักหรือหมายเลขฉุกเฉินรองระหว่าง 911, 112 หรือทั้งสองหมายเลข[18] โดย 112 เป็นหนึ่งในสองหมายเลข (อีกหมายเลขเป็นหมายเลขฉุกเฉินของภูมิภาค) ที่สามารถโทรออกได้ในโทรศัพท์ระบบจีเอสเอ็มส่วนใหญ่ แม้ว่าโทรศัพท์จะถูกล็อกเครื่องอยู่ก็ตาม[19]

สหภาพยุโรป

[แก้]

112 ได้รับการจัดการและสนับสนุนทางการเงินในสหภาพยุโรปโดยแต่ละรัฐสมาชิก (ประเทศ) ซึ่งเป็นผู้ออกเสียงตัดสินใจเกี่ยวกับองค์กรของศูนย์บริการข้อมูลฉุกเฉิน

กฎหมายของสหภาพยุโรป

[แก้]

คำสั่งของสภายุโรป ที่ 91/396/EC ซึ่งบังคับใช้ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2534 ได้แนะนำให้ใช้ "112" เป็นหมายเลขฉุกเฉินของยุโรป โดยบทบัญญัติเครือข่ายแบบเปิด (Open Network Provision Directive) ในปี พ.ศ. 2540 คำสั่งการบริการอย่างทั่วถึง (Universal Service Directives) ในปี พ.ศ. 2545 และ 2552 ท้ายสุดคือประมวลกฎหมายการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ของยุโรป (European Electronic Communications Code) ในปี พ.ศ. 2561 ระบุเพิ่มเติมว่า 112 ควรใช้งานอย่างไรในสหภาพยุโรป ตามประมวลกฎหมายการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ของยุโรป ทุกคนในสหภาพยุโรปควรสามารถติดต่อหน่วยบริการยามฉุกเฉินได้โดยใช้หมายเลขฉุกเฉินของยุโรป '112' โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตามในสหภาพยุโรป ซึ่งรัฐสมาชิกจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าการเข้าถึงหน่วยบริการยามฉุกเฉินสำหรับผู้พิการนั้นสามารถใช้งานได้อย่างเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไปได้รับ

อี 112

[แก้]

อี 112 เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการติดตามตำแหน่งเวอร์ชันของหมายเลข 112[20] โดยข้อกำหนดนี้ได้รับการสนับสนุนจากประมวลกฎหมายการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์แห่งยุโรป (European Electronic Communications Code) ในปี พ.ศ. 2561 ซึ่งกำหนดให้ต้องรวบรวมข้อมูลของตำแหน่งทั้งจากบนเครือข่ายและที่ได้รับจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยตอนนี้บริการฉุกเฉินสามารถเรียกข้อมูลตำแหน่งที่แม่นยำจากผู้โทรด้วยเทคโนโลยีจากตำแหน่งมือถือขั้นสูง (Advanced Mobile Location)[21] ได้แล้ว รวมถึงเทคโนโลยีระบบการโทรฉุกเฉินอัจฉริยะ (eCall) สำหรับการโทรฉุกเฉินเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งบังคับให้มีการติดตั้งบนรถยนต์ในยุโรปตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2561 ตามข้อกำหนด E112[22]

รีเวิร์ส 112

[แก้]

รีเวิร์ส 112 เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารความปลอดภัยสาธารณะที่องค์กรความปลอดภัยสาธารณะทั่วโลกใช้เพื่อสื่อสารกับกลุ่มบุคคลในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กำหนด โดยรีเวิร์ส 112 ช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถแจ้งเตือนผู้ที่ตกอยู่ในอันตรายได้อย่างรวดเร็วผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ มาตรา 110 ของประมวลกฎหมายการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์แห่งยุโรป (European Electronic Communications Code) กำหนดให้รัฐสมาชิกทั้งหมดของสหภาพยุโรปต้องปรับมาใช้ระบบที่ช่วยให้หน่วยงานสาธารณะสามารถแจ้งเตือนประชาชนทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ที่กำหนดได้ทันท่วงทีต่อภัยคุกคามที่กำลังเกิดขึ้นหรือกำลังเกิดขึ้นบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชาชนเหล่านั้นโดยตรงภายในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 ซึ่งสามารถดำเนินการตามระบบดังกล่าวได้ด้วยเทคโนโลยีระบบส่งข้อมูลโดยตรงจากเสาสัญญาณ (Cell Broadcast) หรือเทคโนโลยีการส่ง SMS ตามตำแหน่งที่อยู่

วันยูโรเปียน 112

[แก้]

รัฐสภายุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป และคณะกรรมาธิการยุโรป ได้ลงนามในอนุสัญญาไตรภาคีในปี พ.ศ. 2552 เพื่อแนะนำวันยูโรเปียน 112 เป็นวันสำคัญประจำปี เพื่อสร้างความตระหนักถึงการเตรียมความพร้อมและหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน 112 ที่มีการใช้งานในยุโรป โดยเลือกเอาวันที่ 11 กุมภาพันธ์จากหมายเลขโทรศัพท์คือ (11/2) เพื่อจัดงานเฉลิมฉลองในทุก ๆ ปี[23]

Expert Groups on 112

[แก้]

การนำหมายเลข 112 ไปใช้งานทั่วสหภาพยุโรปนั้นถือเป็นงานที่ซับซ้อน ต้องมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานป้องกันภัยพลเรือน (หน่วยงานฉุกเฉินที่ทำหน้าที่รับสาย) และหน่วยที่ดูแลด้านการสื่อสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (ผู้ที่ตรวจสอบว่าสายที่ต่อเข้าหมายเลข 112 ต่อถึงโอเปอเรเตอร์ของหน่วยฉุกเฉินจริง) ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้คณะกรรมาธิการยุโรปตัดสินใจในระดับทวีปยุโรป รวมถึงจัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการเข้าถึงเหตุฉุกเฉิน (Expert Group on Emergency Access: EGEA) เมื่อปลายปี พ.ศ. 2548 ซึ่งกลุ่มดังกล่าวได้ประชุมกันครั้งล่าสุดเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556

จากนั้นในปี พ.ศ. 2563 คณะกรรมาธิการยุโรปได้จัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารฉุกเฉิน (Expert Group on Emergency Communications: EG112) โดยมีหน้าที่ในการช่วยเหลือคณะกรรมาธิการยุโรปในการจัดทำกฎหมายใหม่เกี่ยวกับเรื่องนี้ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการจัดการการสื่อสารฉุกเฉินภายในสหภาพยุโรป[24]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Recommendation T/SF 1: Long Term Standardisation of National Numbering Plans" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 23 September 2015. สืบค้นเมื่อ 17 February 2021.
  2. "ECC Decision of 2 March 2018 on the harmonised prefixes and short codes in national numbering plans". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2022. สืบค้นเมื่อ 4 July 2023.
  3. "EENA | The European Emergency Number Association". EENA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2023. สืบค้นเมื่อ 4 July 2023.
  4. Mobiles blamed for emergency calls เก็บถาวร 4 มีนาคม 2003 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, BBC News, 2000-03-21.
  5. Such locks were commonly used, e.g. "ABUS Telefonschloß T70 für Wählscheiben" in Germany.
  6. "Ghana announces 112 as new general emergency number". 3news.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2020. สืบค้นเมื่อ 28 January 2020.
  7. "Emergency Telephone Numbers Around the World". ChartsBin. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 August 2017. สืบค้นเมื่อ 4 July 2023.
  8. "Emergency Response Support System in India - 112.gov.in". 112.gov.in. สืบค้นเมื่อ 2023-09-18.
  9. "Communication and Informatics Ministry (Kemenkominfo) made a call center for emergency responses at 112". indonesia.go.id. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2020. สืบค้นเมื่อ 12 March 2020.
  10. "ABOUT CALL CENTER 112". layanan112.kominfo.go.id. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2021. สืบค้นเมื่อ 16 January 2022.
  11. sanduir (8 May 2013). "112 in Belgium". Digital Single Market - European Commission. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 June 2015. สืบค้นเมื่อ 11 April 2019.
  12. sanduir (11 February 2013). "112 in Bulgaria". Digital Single Market - European Commission. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2019. สืบค้นเมื่อ 11 April 2019.
  13. sanduir (11 February 2013). "112 in the Czech Republic". Digital Single Market - European Commission. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2019. สืบค้นเมื่อ 11 April 2019.
  14. sanduir (11 February 2013). "112 in Denmark". Digital Single Market - European Commission. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2019. สืบค้นเมื่อ 11 April 2019.
  15. For more information, see list of provinces
  16. ȘTIRILE, PUBLIKA.MD - AICI SUNT (29 June 2018). "112 service will be more efficient on emergency calls". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 March 2022. สืบค้นเมื่อ 4 July 2023.
  17. "Dialling 911 instead of 111 still does the trick". Stuff (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 July 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-07-26.
  18. "Guidelines to select Emergency Number for public telecommunications networks" (PDF). International Telecommunication Union. 15 May 2008. p. 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 February 2012. สืบค้นเมื่อ 6 May 2012.
  19. 3rd Generation Partnership Project (มิถุนายน 2002), 3rd Generation Partnership Project; Technical Specification Group Services and System Aspects; Man-Machine Interface (MMI) of the Mobile Station (MS) ;Service description, Stage 1 (Release 1998) (PDF), vol. 3GPP TS 02.30 V7.1.1, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 กรกฎาคม 2013, สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2018
  20. "Locating you in an emergency – what you need to know about E112". European GNSS Agency (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-03-04.
  21. "Advanced Mobile Location". European Emergency Number Association (EENA) (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2023. สืบค้นเมื่อ 2021-03-04.
  22. "ECall - Mobility and transport - European Commission". Mobility and transport (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2021. สืบค้นเมื่อ 2017-12-13.
  23. "112 Day 2021,European Emergency Number Association (EENA)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2023. สืบค้นเมื่อ 4 July 2023.
  24. Commission Expert Group on Emergency Communications (E03715), European Commission, last update on 9 October 2020
  25. "National Emergency Number Association". www.nena.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2020. สืบค้นเมื่อ 2019-04-17.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ 112 (หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน)